ให้ลูกเริ่มต้นฝึกภาษาอังกฤษอย่างไร เพื่อสามารถออกเสียงตามโฟนิกส์ได้
คนส่วนใหญ่รู้ว่าภาษาอังกฤษมี 26 ตัวอักษร (A-Z) แต่คนส่วนน้อยเท่านั้นที่รู้ว่า 26 ตัวอักษรนี้เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงแทนเสียงในระบบการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งมีมากถึง 44 เสียง อ้างอิงตามระบบ IPA (International Phonetic Alphabet) ดังนั้น คำว่า “ Phonemic Awareness ” จึงถูกนำมาใช้อธิบายความสามารถในการได้ยิน, ระบุ, จำแนกและจัดการกับเสียง 44 เสียงในภาษาพูด ช่วงแรกเด็กอาจจะยังไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ แต่พวกเขาควรจะสนใจฟังเสียงพูด อย่างตั้งอกตั้งใจ
1.Identification & Isolation (การระบุและแยกแยะเสียง) 2.Blending (การผสมเสียง) 3.Segmenting (การแยกเสียง) 4.Addition & Subtraction (การเพิ่มและลบเสียง) 5.Substitution (การแทนที่เสียง)
ทักษะเหล่านี้จะช่วยสร้างความชำนาญและพัฒนาทักษะการอ่านใหักับลูกๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่สอดแทรกทักษะเหล่านี้ระหว่างการสนทนากับลูกหรือในช่วงเวลาการอ่าน เพียงเท่านี้ ลูกๆก็จะค่อยๆรับรู้และเข้าใจทักษะเหล่านี้ได้โดยอัตโนมัติ!1.IDENTIFICATION & ISOLATION
Identification & Isolation คือความสามารถในการระบุและแยกแยะหน่วยเสียงย่อยว่าอยู่ส่วนไหนของคำ-
-
- เน้นไปที่เสียงต้นของคำ
- เน้นไปที่เสียงท้ายของคำ
- พูดคุยเกี่ยวกับความเหมือนและความต่างของเสียงในแต่ละคำ
-
- ลูกสามารถเพิ่มการรับรู้หน่วยเสียงย่อยด้วยวิธีที่สนุกสนาน
- ลูกสังเกตความเหมือน และความต่างของเสียงได้ด้วยตนเองและเป็นธรรมชาติมากขึ้น
2.BLENDING
Blending คือความสามารถในการผสมเสียงเพื่ออ่านออกเป็นคำ ตัวอย่าง ลูกของคุณจะสามารถสะกดคำว่า ‘BAT’ ได้ถ้าเขารู้ว่าต้องรวมเสียง /b//a/ /t/ เบอะ แอะ ถึ แบทถึ เข้าด้วยกัน.3.SEGMENTING
Segmenting นั้นมีความหมายตรงกันข้ามกับ Blending ซึ่งก็คือการแยกเสียงของคำออกเป็นหน่วยเสียงย่อยที่เล็กที่สุด ตัวอย่าง ลูกของคุณสามารถแยกเสียงของคำว่า BAT ออกเป็นเสียง /b/ /a/ /t/ ทักษะนี้จะช่วยให้ลูกของคุณสามารถสะกดคำได้ รวมไปถึงเรียนรู้คำใหม่ๆและไม่คุ้นเคยได้ คุณสามารถสอนการผสมและแยกหน่วยเสียงย่อยได้อย่างไร เลือกคำมาหนึ่งชุดเพื่อสอนการผสมเสียงและแยกเสียง วิธีง่ายๆในการสอนก็คือการยกนิ้วของคุณขึ้นทีละนิ้วในขณะที่ออกเสียง เพื่อให้ลูกของคุณเห็นและนับจำนวนเสียงในคำได้!- เพิ่มการรับรู้ด้านเสียงให้กับลูกของคุณ
- ช่วยให้ลูกของคุณเข้าใจว่าเสียงสามารถนำมาผสมรวมกันให้กลายเป็นคำได้และก็แยกออกมาเป็นเสียงได้ด้วย ซึ่งส่ิงนี้เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยในเรื่องการสะกดคำและการอ่าน
4.ADDITION AND SUBTRACTION
Addition and Subtraction คือการเพิ่มเสียงและการลบเสียงเพื่อสร้างคำใหม่ ตัวอย่าง ลูกของคุณควรรู้ว่าถ้าเราเพิ่มเสียง /d/ ดึ ที่ท้ายคำว่า ‘BAN’ ก็จะเกิดเป็นคำใหม่คือ ‘BAND’ แต่ถ้าคุณตัด /b/ เบอะ ออกจากคำว่า ‘BAND’ ก็จะได้คำใหม่คือ ‘AND’ เป็นต้น คุณจะสอนการเพิ่มเสียงและตัดเสียงได้อย่างไร เพียงแค่คุณเพิ่มเสียงและลบเสียงจากคำที่คุณสนทนากับลูกในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อเขาเริ่มคุ้นเคยกับมันและเริ่มสร้างคำใหม่ได้ การอ่านและการสะกดคำจะกลายเป็นเรื่องง่ายและน่าสนุกสำหรับเขาเลยทีเดียว5.SUBSTITUTION
Substitution คือความสามารถในการแทนที่เสียงด้วยเสียงอื่นเพื่อสร้างคำใหม่ ตัวอย่างถ้าคุณแทนที่เสียง /b/ ในคำว่า BAT ด้วย /r/ ก็จะได้คำว่า RAT. แต่ถ้าคุณแทนที่ /r/ ในคำว่า RAT ด้วย /m/ คุณก็จะได้คำว่า MAT.
แทนที่เสียง/b/ ในคำว่า BAT ด้วย /n/ NAT หรือ /z/ ZAT.
ในจุดนี้ ไม่ต้องไปคำนึงถึงการสร้างคำที่ถูกต้อง เพราะเราต้องการดึงดูดความสนใจของเด็กด้วยการสร้างเสียงหัวเราะ
ความแตกต่างระหว่าง Phonological Awareness (การรับรู้ระบบเสียง) และ Phonemic Awareness (การรับรู้หน่วยเสียงย่อย)
หลายคนมักจะสับสนระหว่างคำว่า Phonemic Awareness และ Phonological Awareness และมักจะใช้สลับกันเนื่องจากสองคำนี้มีความหมายที่คล้ายคลึงกันมาก แต่ในความเป็นจริงนั้นมันแตกต่างกันอยู่มากทีเดียวความแตกต่าง
Phonological Awareness เป็นทักษะการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับทั้งเสียงและหน่วยเสียงในภาษาพูด ในขณะที่ Phonemic Awareness เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของ Phonological Awareness และจะเกี่ยวข้องกับเสียงเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยเสียงในภาษาพูด อธิบายอย่างง่ายๆก็คือ ลองจินตนาการถึงบ้านหนึ่งหลัง ถ้าบ้านคือ Phonological Awareness ห้องต่างๆภายในบ้านก็คือ Phonemic awareness นั่นเอง- Phonemic Awareness (การรับรู้หน่วยเสียงย่อย) คือความสามารถในการได้ยิน, ระบุ, จำแนก และจัดการกับเสียง 44 เสียงในภาษาพูด
- เป็นทักษะทางการได้ยิน เน้นไปที่เสียงที่เราได้ยินเท่านั้น ไม่ได้เน้นที่ตัวอักษรที่เราเห็น ดังนั้นเด็กๆจึงอาศัยแค่หูของพวกเขาในการฟัง
- ทักษะที่สำคัญของ Phonemic Awareness มีอยู่ 5 ทักษะซึ่งเด็กจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และพัฒนา เพื่อนำไปสู่การเป็นผู้อ่านที่ประสบความสำเร็จในอนาคต ประกอบด้วย
1.Identification & Isolation – การระบุเสียงในคำ
2.Blending – การผสมเสียง
3.Segmenting – การแยกเสียงของคำออกเป็นหน่วยเสียง
4.Addition & Subtraction – การเพิ่มและลดเสียงเพื่อสร้างคำใหม่
5.Substitution – การแทนที่เสียงเพื่อสร้างคำใหม่
Phonemic awareness เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของทักษะที่เรียกว่า Phonological Awareness ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทั้งเสียงและหน่วยเสียงในภาษาพูด ในขณะที่ Phonemic awareness จะเกี่ยวข้องกับหน่วยเสียงในภาษาพูดอย่างเดียวเท่านั้น
ซึ่งใน Engbrain นั้น ครูโบว์จะใช้ทักษะทั้ง 5 ขั้นนี้ในการสอนเลยค่ะ (แม้ว่าหลักการของ Jolly Phonics ที่ Engbrain ใช้นั้น จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเพียง 3 ทักษะแรกก็ตาม) ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษสามารถเข้าใจและฝึกฝนทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ
สำหรับคนที่อยากทราบว่า Jolly Phonics คืออะไร และทำไมครูโบว์ถึงเลือกใช้ ก็คลิกเข้าไปอ่านได้เลยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก lurnsmart.com