บทความ

JollyPhonicsTeaching ขั้นตอนการสอนโฟนิกส์ EngBrain krubow PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics

ขั้นตอนการสอนโฟนิกส์ มีอะไรบ้าง เริ่มต้นฝึกโฟนิกส์ให้ลูกได้อย่างไร

      หลายๆบ้านที่ติดตามครูโบว์โดยตลอด คงได้อ่านบทความก่อนหน้านี้เรื่อง โฟนิกส์คืออะไร และ Jolly Phonics มาบ้างแล้ว วันนี้ค่ะครูโบว์จะพาเจาะลึกรายละเอียดเรื่องขั้นตอนการสอนโฟนิกส์ ซึ่งเป็นประสบการณ์ส่วนตัวและสูตรลับเฉพาะที่ครูโบว์ได้ใช้สอนจริงกับนักเรียนทั้งในออนไลน์และออฟไลน์กว่า 5,000 คน       สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกในวัย 3-8  ขวบพร้อมเริ่มต้นพาน้องเรียนโฟนิกส์อย่างจริงจัง  ครูโบว์เชื่อมั่นว่า…..ทุกท่านพร้อมจะรับความรู้ตรงนี้ และไม่พลาดขั้นตอนการสอนโฟนิกส์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ลูกๆอ่านออกเขียนได้ใช่ไหมคะ?

ขั้นตอนการสอนโฟนิกส์ มีอะไรบ้าง จะเริ่มต้นฝึกโฟนิกส์ให้ลูกอย่างไร ทำรายการเช็คลิสต์ทีละข้อ แล้วพร้อมทำตามไปด้วยกันได้เลยค่ะ

       1. รู้จัก 26 ตัวอักษรแล้วหรือยัง เด็กๆควรมีพื้นฐาน เคยพบเห็น และรู้จักมักคุ้นกับพยัญชนะภาษาอังกฤษ A-Z ครบทั้ง 26 ตัวอักษรมาก่อน ผ่านการสัมผัสรูปภาพจากบัตรคำ flashcards, poster, letter blocks, หรือแม้กระทั่งเคยเห็นในหนังสือมาก่อน สามารถร้องเพลงได้และไล่เรียงลำดับตาม Alphabetical Order ได้ ที่สำคัญหากสามารถชี้และแยกแยกตัวอักษรได้ ว่าตัวไหน คือ a b c หรือ d หากลูกทำได้ถือว่าเป็นวัยที่เค้าพร้อมมากๆก่อนเรียนโฟนิกส์ค่ะ หลายๆบ้านมีคำถามมาถามครูว่า ต้องจำแม่นและแยกแยะตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ capital letters กับอักษรพิมพ์เล็ก lower-case letters  พร้อมเขียนและคัดได้ด้วยหรือไม่ คำตอบคือ หากน้องแยกแยะได้ เคยผ่านการเขียนมาบ้างจะทำให้เรียนโฟนิกส์ได้แม่นยำมากขึ้นค่ะ  แต่หากยังเขียนไม่เก่ง ยังสับสนตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่บ้างก็ไม่เป็นไรค่ะ เพราะเบื้องต้นเวลาเราสอนโฟนิกส์เราจะใช้เพียงตัวอักษรพิมพ์เล็ก (lower-case letters) เท่านั้น ในการให้ลูกถอดรหัสเพื่ออ่านและประสมเสียงค่ะ   
phonics_courses_krubow-2
      2.เรียนเรื่องเสียงผ่าน Phonemic Awareness การรับรู้หน่วยเสียงย่อยเเล้วหรือยัง ให้เด็กๆรู้จักหน่วยเสียงย่อย 26 เสียงจาก 26 ตัวอักษร ผ่านกระบวนการ ( phonemic  awareness  ) ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน แนะนำควรอ่านก่อนเพื่อทำความเข้าใจและพาลูกๆฝึกในชีวิตประจำวันมากขึ้น เพราะขั้นตอนนี้เราใส่ใจและเน้นย้ำเรื่องหน่วยเสียงย่อยผ่านอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการรับเสียงและเปล่งเสียงคือ หู ปาก และลิ้น ด้วยการฝึกฟังเพื่อพูดตาม เปล่งหน่วยเสียงผ่านการร้องเพลง เต้น ทำท่าประกอบ และสื่อสารในชีวิตประจำวัน  ขั้นตอนนี้สำคัญมากที่สุดเพราะเป็นจุดเริ่มต้นให้ลูกเกิดความคุ้นชิน ให้เค้ารู้ว่าทุกคำศัพท์ที่เราพูดกันนั้นมันมีเสียงย่อยๆของแต่ละตัวอักษร หรือเราเรียกว่า Letter sound ประกอบอยู่ เช่น 

Mom: “ What is this animal? ” Kid: …… Mom: “ This is a pup. /p/,/p/,/p/ pup. ” Mom: “ What can the pup do? ” Kid: …… Mom: “ The pup can pant. /p/,/p/,/p/ pant. ” Mom: “ Where can the pup pant? ” Kid: …… Mom: “  The pup can pant at the /p/,/p/,/p/park. ”

phonics_courses_krubow
      ในขั้นตอนนี้ถ้าเราฝึกให้ลูกพูดตามและแนะนำให้รู้จักจำนวนหน่วยเสียงมากเท่าไร เค้าก็จะยิ่งมีฐานเสียงเพื่อต่อยอดการเรียนโฟนิกส์ได้เร็วและมากขึ้นเท่านั้น
reading phonics วิธีการอ่านภาษาอังกฤษที่ได้ผลที่สุด
      หากเราดูจากปิรามิดในภาพนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ขั้นตอนการสอนโฟนิกส์ที่เน้นให้เด็กเก่งเรื่อง phonemic awareness เป็นฐานความรู้ที่สำคัญที่สุดเพราะแนวคิดเรื่อง “  เก่งเสียง  ”  ทำให้  “  อ่านศัพท์อังกฤษออก  ”ได้รับการยอมรับทั่วโลก  แม้กระทั่งประเทศเจ้าของภาษาอย่าง สหรัฐอเมริกา  (  NRP: National  Reading  Panel,2000  )   ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาล  ได้ระบุให้การสอนเรื่อง  การรับรู้หน่วยเสียงย่อย ( phonemic  awareness  )  เป็นขั้นตอนที่มาก่อนการสอนอ่านคำศัพท์ และหรือการเชื่อมโยงเสียงเข้ากับตัวอักษรในวิชา   phonics 
      3.สอนโฟนิกส์จริงจังหยิบตัวอักษรมาสัมพันธุ์กับเสียง ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด เนื่องจากเราจะพาเด็กๆ decode หรือ ถอดรหัสเสียงของแต่ละตัวอักษร ซึ่งหลักสูตรโฟนิกส์ทั่วไปจะสอนให้เรียนแบบไล่เรียง 26 ตัวอักษร หากท่านใดสนใจขั้นตอนการสอนโฟนิกส์ทั่วไปสามารถอ่านต่อได้เลย แต่ถ้าท่านใดต้องการใช้วิธีของ Jolly Phonics แนะนำว่าอ่านข้อนี้ก่อน จะมีประโยชน์และช่วยให้มีเทคนิคในการการสอนแบบ Jolly Phonics ด้วยเช่นกัน

            3.1 สอนเสียงโฟนิกส์ด้วยเพลงของ 26 เสียง 26 ตัวอักษร จนครบเสียงทั้ง a-z และมั่นใจว่าลูกจำเสียงของ 26 ตัวอักษรได้ทั้งหมดแล้ว เช่น

a ออกเสียง แอะ

b ออกเสียง เบอะ

c ออกเสียง เขอะ

phonics-set-1
Phonics Chart for thai kids 3 krubow ครูโบว์ Engbrain อิงเบรน

เพลงที่แนะนำให้ใช้ ซึ่งครูโบว์ชอบมากที่สุดคือ ของ Little Fox Phonics Song | Letter A to Z

 และ Phonics Song 2

Phonics Courses Kids EngBrain krubow PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics

            3.2 เริ่มต้นผสมเสียง (blending) โดยเริ่มจากเสียงสระที่ลูกคุ้นชินมากที่สุดจากทั้งหมด 5 ตัวได้แก่ a,e,i,o,u เราจะเลือกเสียงแอะของตัว a มาให้ลูกฝึกผสมก่อนโดยใช้ 2 ตัวอักษรที่ผสมได้เช่น at, am, an, ap, as เป็นต้น

At = แอะ ถึ = แอ็ท
Am = แอะ อึม = แอ็ม
Ap = แอะ พึ = แอ็พ
As = แอะ ซึ  = แอ็ซ

            3.3 สอนผสมเสียงด้วยเทคนิค Onset and Rime ด้วยการนำคำศัพท์ 3 ตัวอักษร ซึ่งมี 3 เสียงด้วยกัน คือ cvc  ซึ่งย่อมาจาก consonant vowel consonant ด้วยวิธีการประสมแบบ word family  หรือ Onset and Rime จะทำให้เด็กผสมและอ่านได้ไว Onset คือการเปล่งเสียงพยัญชนะต้น และ Rime คือการอ่านเสียงที่ผสมกันแล้วตามมา  

ตัวอย่าง -at  words เช่น

c-at เราจะอ่านว่า เขอะ แอท  = cat แค็ท p-at เพอะ แอท = pat แพ็ท b-at เบอะ แอท  = bat แบ็ท

c-at = cat     h-at = hat m-at= mat      v-at = vat s-at = sat      r-at  = rat

ตัวอย่าง -am words  เช่น

j-am เจอะ แอ็ม = jam  แจ็ม

p-am = pam              s-am = sam h-am = ham              m-am= mam y-am = yam              d-am = dam

1234 phonics word book PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics
            3.4 สอนเสียงควบกล้ำพยัญชนะต้น Initial consonant blends  เช่น bl cl pl gl br cr pr gr เป็นต้น ในคำว่า clap, plan, bran, grin เป็นต้นซึ่งเราเรียกว่า ccvc (consonant, consonant, vowel, consonant)  ซึ่งขั้นตอนนี้เด็กๆคุ้นชินการผสมแบบ onset and rime  ในคลังศัพท์ของ word family มาแล้ว ทำให้เด็กๆอ่านได้ง่ายขึ้นโดยที่เราจะผสมเสียงควบกล้ำให้ได้ก่อน
เช่น คำว่า clap

cl = เขอะ อึล = คลือ            -ap = แอ็พ cl คลือ +  ap แอ็พ  = แคล็พพฺ

คำว่า plan

pl = เพอะ อึล = พลือ            -an = แอ็น pl พลือ +  an แอ็น  = แพล็น

Phonics Courses Kids EngBrain PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics
            3.5 Final consonant blends  เสียงควบกล้ำพยัญชนะท้าย   เช่น -st, -lt, -lp, -nd, -lk เป็นต้น เช่นคำว่า must, belt, gulp, pond, milk   เราเรียกคำนี้ว่า CVCC (consonant, vowel, consonant, consonant) 
            3.6 สอน vowel digraphs คือ สระสองตัวติดกันออกเพียง 1 เสียง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสระเสียงยาวตามภาพ
Phonics Chart for thai kids 4 krubow ครูโบว์ Engbrain อิงเบรน EngBrain krubow PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics
            3.7 สอน consonant digraphs คือ พยัญชนะในภาษาอังกฤษที่มี 2 ตัวอักษรต่างกันอยู่ติดกันแต่ออกเพียง 1 เสียง เช่น ng sh ch th (voiced) th (unvoiced)
consonant_digraphs PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics
      โดยเทคนิคของครูโบว์ครูจะให้เด็กๆแม่นหน่วยเสียงย่อยมากๆ และฝึกผสมเสียงของแต่ละ consonant digraphs  ให้แม่นยำก่อน เช่นถ้าเรียน ng ก็จะฝึกคำที่มี เสียง ng ในหลายๆรูปแบบการสะกด แต่ศัพท์โฟนิกส์ที่นำมาสอนควรเลือก 1 พยางค์ก่อน

ng เช่น sing sang sung hang hung ping wing เป็นต้น

sh เช่น ship shop shut shin shot

ch เช่น chip chop chin

th (voiced) เช่น this that with

th (unvoiced) เช่น thin thank think

      จากนั้นเมื่อเด็กๆแม่นยำการผสมเสียแล้วจะใช้เทคนิค การอ่านคู่เทียบเสียง (minimal pairs) เพื่อให้เค้าได้ฝึกลิ้น วางรูปปาก และแยกแยะความแตกต่างในคู่หน่วยเสียงที่คล้ายกันมากๆ  เช่น

chin – shin chip – ship chop – shop

      วิธีดังกล่าวทั้งหมด ในข้อ 3 ช่วยให้ลูกเรียนโฟนิกส์และอ่านออกได้ แต่วันนี้ครูโบว์อยากแนะนำว่า หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกผสมเสียงได้เร็วและมีกลุ่มคำศัพท์ชัดเจน ไม่ต้องกังวลในการเลือกคำศัพท์ใดๆ มาสอนน้องแนะนำให้สอนด้วยการใช้ระบบ Systematic Synthetic Phonics ของ Jolly Phonics ที่แบ่งการออกเสียงเป็นกลุ่มอย่างชัดเจน เพราะ Jolly ได้จัดกลุ่มให้เด็กเริ่มฝึกจากหน่วยเสียงที่เปล่งได้ง่ายที่สุดไปกลุ่มเสียงที่ยากที่สุด (พูดง่ายๆว่ามีระบบและหลักสูตรวางไว้ให้หมดแล้ว เราสามารถทำตามได้ง่ายๆเลยค่ะ)
      4. สอนด้วยกลุ่มเสียงตาม  Jolly Phonics   เช่น สัปดาห์แรกเรียนเพียง 6 เสียงของจาก 6 ตัวอักษร ในกลุ่ม 1 ได้แก่  s, a, t, i, p, n ลูกสามารถอ่านออกทันที 30 คำ 
ตัวอย่าง 30 คำแรกได้แก่
phonics word krubow PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics
      ซึ่งข้อดีของระบบจอลลี่โฟนิกส์คือ เด็กจะจำเสียงเพื่อเขียนคำศัพท์ใดๆ ได้ สามารถแต่งประโยคได้จากกลุ่มคำศัพท์เดิมที่ฝึกอ่านมาแล้ว ทั้งยังเข้าใจความหมายได้ดีอีกด้วย
             4.1 ฟังเพลงของ Jolly Phonics ตามกลุ่มเสียง ร้องเพลงเต้นทำท่าประกอบ ออกหน่วยเสียงย่อยในกลุ่ม 1 ให้แม่นยำก่อน
            4.2 ฝึกผสมเสียง (blending) ด้วยการหยิบเสียงสระที่ลูกคุ้นชินก่อน ใน 6 เสียงแรก s a t i p n สามารถหยิบเสียงสระ แอะ a มาผสมก่อนได้เลย  ใน 2 เสียงแรกได้ แก่ an, as, at , ap ซึ่งสามารถใช้เทคนิคในข้อ 3.3 ข้างต้นที่พูดถึงการสอนผสมเสียงแบบ onset and rime  มาประยุกต์ใช้ แต่แนะนำว่า เด็กจอลลี่โฟนิกส์ควรฝึกผสมเสียงแบบ segmenting หรือการแยกหน่วยเสียงย่อยทุกเสียงให้ได้ในทุกคำ       เช่น sap ซึ แอะ พึ  = แซ็พพฺ              sat ซึ แอะ ถึ = แซ็ทถฺ              pat เพอะ แอะ ถึ = แพ็ทถฺ

“วิธีนี้ทำให้เด็กแม่นหน่วยเสียงย่อยมากๆ เมื่อเจอคำใหม่ๆก็จะอ่านและสะกดได้”

            4.3 ใช้แบบฝึกหัดโฟนิกส์ หรือใบงานโฟนิกส์ ที่ออกแบบให้ลูกได้ฝึกทักษะการเขียนและคุ้นชินกับตัวอักษรมากขึ้น
phonics worksheet krubow
phonics krubow PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics
            4.4 ฝึกเขียน dictation สอบเขียนคำศัพท์ตามคำบอก เฉพาะในกลุ่มเสียงนั้นๆ จนเกิดความคุ้นชิน หรือ สอบเขียน dictation เลือกคำศัพท์แบบสุ่มมาเขียน เช่น 10 คำจาก 30 คำ
            4.5 อ่านนิทานโฟนิกส์ ซึ่งมีการจำกัดคำศัพท์อังกฤษและกลุ่มเสียงเฉพาะที่ลูกได้เรียนมาเเล้ว เช่นนิทานของ Jolly Phonics จะใช้แค่ 6 เสียงที่เรียนมาแล้วเท่านั้นในการมาแต่งเป็นนิทานให้เด็กได้อ่าน
phonics krubow PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics
Phonics Courses Kids EngBrain PhonicsTeachingSteps PhonicsSteps PhonicsTeaching โฟนิกส์ Phonics JollyPhonics
            4.6 ให้เด็กๆฝึกเขียนเป็นประโยค โดยเลือกประโยคมาจากนิทาน สัก5-10 ประโยค ทำให้เค้าสามารถแต่งประโยคด้วยเพียง 6 เสียง 6 ตัวอักษรเท่านั้น
            4.7 ฝึกอีก 6 กลุ่มเสียงที่เหลือจนครบ 42 เสียงหลักด้วยการฝึกตามข้อ 4.1-4.7 ควบคู่กันทุกครั้ง   
      5. สอน sight words (คำคุ้นตา) หรือ high-frequency words   สัปดาห์ละ 3-6  คำ ควบคู่กับการสอนโฟนิกส์ทั้งหลักสูตรโฟนิกส์ทั่วไปที่ไล่เรียง 26 เสียง 26 ตัวอักษร และ ระบบ Synthetic phonics อย่าง Jolly Phonics  เพราะ sight words เป็นคำพบได้บ่อยมากในแบบเรียน ข้อความภาษาอังกฤษ เป็นคำที่ไม่สามารถผสมเสียงด้วยหลักการของโฟนิกส์ได้ เนื่องจากรูปการสะกดค่อนข้างซับซ้อน ออกเสียงไม่ตรงกับฐานเสียงโฟนิกส์ tricky-word-phonics      ในระบบ Jolly Phonics จะเรียกคำ sight words ว่า tricky words ซึ่งสอนทั้งหมดเพียง 72 คำ  ซึ่งจริงๆ sight words มีมากถึง 200 คำเลยที่เดียว ยกตัวอย่างคำ และการฝึกให้ลูกรู้จักอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-6 คำ

      เป็นอย่างไรกันบ้างคะคุณพ่อคุณแม่ อ่านบทความจนถึงตรงนี้ ครูโบว์มั่นใจมากๆว่า ทุกท่านคงตื่นเต้นและอยากเริ่มต้นสอนโฟนิกส์ให้ลูกอย่างจริงจังแล้วใช่ไหมคะ  หากอ่านมาจนถึงตอนนี้ ทุกท่านมีข้อสงสัยใดๆสามารถพิมพ์คำถาม หรือ ทักมาพูดคุยสอบถามเรื่องการสอนโฟนิกส์ได้ที่ @engbrain ครูโบว์ยินดีช่วยเหลือตอบคำถาม และขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน มีความสุขในการสอนโฟนิกส์และจัดการศึกษาที่ดีที่สุดให้กับลูกๆทั้งที่บ้าน หรือ คุณครูที่มาอ่านแล้วได้เทคนิคดีๆนี้สามารถจัดการศึกษาที่ดีที่สุดให้กับนักเรียนในโรงเรียนได้เช่นกัน

“แล้วปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มันจะหมดไป”

ด้วยรักจากใจ ครูโบว์   

บทความอื่นๆ

บทความน่าสนใจอื่นๆ